สภาพสังคม
หมู่บ้าน/ชุมชน
ชุมชนในเขตเทศบาลประกอบด้วย 4 ชุมชน ประกอบด้วย
- ชุมชนหน้าท่าควาย
- ชุมชนหนองเหรียง
- ชุมชนหนองไทร
- ชุมชนวัดพุทธสิหิงค์
ซึ่งรวมทั้ง 4 ชุมชนแล้วจะมีครัวเรือนจำนวน 1,298 ครัวเรือน
ประชากร ในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ
ประชากรในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 (สำนักทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ) มีทั้งหมดจำนวน 3,781 คน ประกอบด้วย ประชากรชาย 1,709 คน ประชากรหญิง 2,072 คน จำแนกเป็น
ประชากร |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
เด็ก (0-6 ปี) |
140 |
135 |
275 |
เด็กโต (7-12 ปี) |
157 |
105 |
262 |
วัยรุ่น (13-17 ปี) |
126 |
116 |
242 |
ผู้ใหญ่ (18-60 ปี) |
1,097 |
1,443 |
2,522 |
คนชรา (60ปีขึ้นไป) |
207 |
273 |
480 |
โดยมีความหนาแน่นของประชากร จำนวน 1,939 คน/ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีประชากรที่แฝง เนื่องจากมาอาศัยแต่ไม่ได้ย้ายเข้าตามหลักฐานทะเบียนราษฎรอยู่อีกประมาณ 200 คน
ด้านการศึกษา
เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นของเทศบาลเอง จำนวน 1 แห่ง มีสถานการศึกษาจำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนระดับมัธยม 1 แห่ง และระดับประถม 1แห่ง
ศาสนา
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ 99.10 % เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ มีวัดอยู่ 1 แห่ง คือ วัดรัตนาภิมุข ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนและมีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่ประมาณ 0.90 %
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่น ในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือก็มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับท้องถิ่นอื่นๆ ที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจเรียงลำดับตามความสำคัญมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้
(1) ประเพณีทำบุญวันสาร์ท
ซึ่งมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า ประเพณีงานบุญเดือนสิบ ประเพณีนี้จะมีกิจกรรมในช่วงแรม 15 ค่ำเดือนสิบหรือประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุด กิจกรรมที่สังเขปตามประเพณีทำบุญวันสาร์ท ได้แก่ มีการจัดขนมต่างๆ มีการตกแต่งหรือใส่ภาชนะที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “หมรับ” นำไปถวายพระเพื่ออุทิศให้แก่ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เคารพนับถือซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว ขนมที่นำไปวัด ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ฯลฯ ตามความเชื่อความศรัทธามาตั้งแต่บรรพบุรุษ
(2) ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ก.ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะจัดประมาณวันที่ 12 เมษายนของทุกปีแล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัด กิจกรรมที่จัด ได้แก่ เชิญผู้สูงอายุในชุมชนมาร่วมพิธีทางศาสนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง โดยลูกๆ หลานๆ จะทำการรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุและเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี ความมีพระคุณของ ผู้สูงอายุและอาจจะมอบของขวัญให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื้อผ้า หรือของจำเป็นในชีวิตประจำวันและมอบเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ
ข.ประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีชนิดนี้ ในท้องถิ่นเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ จะจัดเฉพาะวันที่ 13 เมษายนของทุกปีเท่านั้น โดยมีลักษณะของกิจกรรมมีการสรงน้ำพระโดยมีรถแห่พระในเขตเทศบาล ซึ่งใช้งบประมาณของเทศบาลเอง ส่วนใหญ่ประชาชนผู้สูงอายุหรือผู้ใหญ่อาจไปทำบุญนำปิ่นโตไปถวายพระ ส่วนเยาวชนและ ประชาชนโดยทั่วไป มักจะจับกลุ่มเล่นสาดน้ำกัน ซึ่งในวันนี้กิจกรรมในชีวิตประจำวันในด้านการทำงานหรือประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จะหยุด 1 วัน
(3) ประเพณีวันลอยกระทง
ประเพณีชนิดนี้จัดขึ้นในวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบสองของทุกปี มีการจัดงานรื่นเริง ประกวดนางนพมาศ ธิดานพมาศ ประกวดกระทง ตามแต่ความพร้อมของหน่วยงานที่จัดแต่ละปี โดยใช้คลองนางน้อยเป็นสถานที่ลอยกระทง ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปก็ปฏิบัติเหมือนกันทั่วทุกท้องถิ่น
การศึกษา
ในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ มีสถานศึกษาอยู่ 3 แห่ง โดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นของเทศบาล 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านหนองไทร นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ซึ่งอาจจัดแยกรายละเอียดได้ ดังนี้
สังกัด |
เอกชน |
ท้องถิ่น |
สพฐ. |
กรมอาชีวะฯ |
รวม |
ระดับก่อนประถมศึกษา
1 จำนวนโรงเรียน
2 จำนวนห้องเรียน
3 จำนวนนักเรียน
4 จำนวนครู
ระดับประถมศึกษา
1 จำนวนโรงเรียน
2 จำนวนห้องเรียน
3 จำนวนนักเรียน
4 จำนวนครู
ระดับมัธยม
1 จำนวนโรงเรียน
2 จำนวนห้องเรียน
3 จำนวนนักเรียน
4 จำนวนครู |
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
- |
1
3
160
7
-
-
-
-
-
-
-
- |
-
-
-
-
1
16
445
18
1
39
1,475
67 |
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
- |
1
3
160
7
1
16
445
18
1
39
1,475
67 |
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประเภท การศึกษานอกโรงเรียนที่เปิดสอนในเขตเทศบาล 1 แห่ง ซึ่ง สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
กีฬา นันทนาการ / พักผ่อน
1) สนามกีฬาเอนกประสงค์
2) สนามฟุตบอล
3) สนามบาสเก็ตบอล
4) สนามตะกร้อ
5) สระว่ายน้ำ
6) ห้องสมุดประชาชน
7) สวนสาธารณะ
8) สนามเด็กเล่น |
จำนวน - แห่ง
จำนวน 2 แห่ง
จำนวน 1 แห่ง
จำนวน 1 แห่ง
จำนวน - แห่ง
จำนวน 1 แห่ง
จำนวน 2 แห่ง
จำนวน 1 แห่ง |
การสาธารณสุข
1) โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ (ถ้ามี) สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
- ท้องถิ่น จำนวน - แห่ง
- เอกชน จำนวน - แห่ง
- รัฐบาล จำนวน 1 แห่ง |
เตียงคนไข้ จำนวน - เตียง
เตียงคนไข้ จำนวน - เตียง
เตียงคนไข้ จำนวน 60 เตียง |
2) ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน - แห่ง
3) คลินิกเอกชน จำนวน 3 แห่ง
4) บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทุกสังกัดในเขตพื้นที่
- แพทย์ จำนวน 3 คน
- เภสัชกร จำนวน 3 คน
- ผู้ช่วยเภสัชกร จำนวน 4 คน
- นักกายภาพบำบัด จำนวน 2 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำนวน 3 คน - อสม. จำนวน 230 คน |
- ทันตแพทย์ จำนวน 2 คน
- พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน
- พยาบาลเทคนิค จำนวน 13 คน
- นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 2 คน
- นักวิชาการสาธารณสุข 3 คน |
5) ผู้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสังกัด (จำนวนต่อปี)
ท้องถิ่น - คน
- ผู้ป่วยใน - คน
- ผู้ป่วยนอก - คน
เอกชน - คน
- ผู้ป่วยใน - คน
- ผู้ป่วยนอก - คน
รัฐบาล 7,650 คน
- ผู้ป่วยใน 19,670 คน
- ผู้ป่วยนอก 86,650 คน
ศูนย์บริการสาธารณสุข - คน
6) สาเหตุการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
- อุบัติเหตุ 9,741 ราย/ปี
- สาเหตุอื่น 79,909 ราย/ปี |
คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น - บาท
คิดเป็นงบประมาณในการรักษาทั้งสิ้น - บาท |
7) ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง 5 อันดับแรก
ก.โรคระบบหายใจ
ข.ระบบไหลเวียนเลือด
ค.โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อโภชนาการและเมตาบอล์ซึม
ง.โรคติดเชื้อและปราสิต
จ.โรคระบบอาหารไม่ย่อย
(ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 -31 มกราคม 2553)
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
1) สถิติเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา (1 มี.ค. 52 - 31 มีนาคม 53 ) 7 ครั้ง
2) ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุเพลิงไหม้ในรอบปีที่ผ่านมา คิดเป็นผู้เสียชีวิต - คน บาดเจ็บ - คน ทรัพย์สินมูลค่า 50,000 บาท
3) ยานพาหนะ
- รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน
- รถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน
- รถกระเช้า
- รถบรรทุก 6 ล้อ
- รถยนต์ 4 ประตู
- รถยนต์ดูดสิ่งปฏิกูล ความจุ 4,000 ลิตร
- รถตู้ ไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง
4) พนักงานดับเพลิง จำนวน 4 คน
5) อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 42 คน
6) การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัย ปีที่ผ่านมา จำนวน - ครั้ง
อาชญากรรม (สถิติอาชญากรรมประเภทต่างๆ ในรอบปีที่ผ่านมา)
ในเขตเทศบาลมีสถานีตำรวจภูธรอำเภอนาโยง ซึ่งให้การบริการความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชน แต่ก็ยังมีอาชญากรรมและอุบัติภัยเกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่ เช่น ลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ยักยอกทรัพย์และเกิดอุบัติภัยโดยมีสถิติอาชญากรรมประเภทต่าง ๆ และอุบัติภัย ดังนี้
1.คดีลักทรัพย์
2.คดีทำให้เสียทรัพย์
3.คดีทำร้ายร่างกาย
4.คดียักยอกทรัพย์
5.พยายามฆ่าผู้อื่น
6.ยาเสพติด
7.ฉ้อโกงทรัพย์ |
เกิดเหตุ 10 ครั้ง
เกิดเหตุ 1 ครั้ง
เกิดเหตุ 2 ครั้ง
เกิดเหตุ 5 ครั้ง
เกิดเหตุ - ครั้ง
เกิดเหตุ 74 ครั้ง
เกิดเหตุ - ครั้ง |
จับกุมผู้กระทำผิดได้ 4 ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ 1 ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ 2 ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ 5 ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ - ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ 74 ครั้ง
จับกุมผู้กระทำผิดได้ - ครั้ง |
(ข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 -30 มกราคม 2553)
|
|